เมนู

คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมที่เคย
สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค ฯลฯ เป็น
ปัจจัยแก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อสังกิลิฏฐธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
เห็นรูปด้วยจักษุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
4. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือบุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ ออกจากฌาณ ฯลฯ
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ
โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[525] 1. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
2. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
3. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม และ
อสังกิลิฏฐธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

4. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แล้ว
ในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน กระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น แล้วพิจารณา ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมที่สั่งสม
ไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทย-
วัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น
กระทำทานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[526] 1. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. สังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่อสังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอสังกิลิฏฐธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผล
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. อสังกิลิฏฐธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย